Home บทความ Health & Beauty หน้าร้อน ระวังท้องร่วง
หน้าร้อน ระวังท้องร่วง
Article Index
หน้าร้อน ระวังท้องร่วง
หน้า #
All Pages
ช่วงซัมเมอร์ที่อากาศร้อน ๆ แบบนี้ หลายครอบครัวอาจจะกำลังวางแผนไปเที่ยวชายทะเล กันอยู่ใช่ไหมคะ แต่เชื่อว่า สำหรับเจ้าตัวเล็กนั้น ถ้าได้ไอศกรีมหวานๆ หรือ น้ำแข็งใสเย็นๆสักถ้วย ก็คงจะพอแล้วละค่ะ

ช่วงซัมเมอร์ที่อากาศร้อน ๆ แบบนี้หลายครอบครัว อาจจะกำลังวางแผนไปเที่ยวชายทะเลกันอยู่ใช่ไหมคะ แต่เชื่อว่า สำหรับเจ้าตัวเล็กนั้น ถ้าได้ไอศกรีมหวานๆ หรือ น้ำแข็งใสเย็น ๆ สักถ้วย ก็คงจะพอแล้วละค่ะ

แต่...ทราบหรือไม่ว่า บางสิ่งที่มากับหน้าร้อนนั้น อาจจะทำให้สวรรค์ของคุณและเด็ก ๆ ล่มไม่เป็น ท่าก็ได้ ใช่แล้วละค่ะ บางสิ่งที่เรากำลังพูดถึงก็คือ เจ้าวายร้ายเชื้อโรคต่าง ๆ นั่นเอง ยิ่งอากาศร้อน ๆ แบบนี้ เพาะเชื้อและเติบโตได้ดีนักเชียว ซึ่งโรคอย่างหนึ่งที่ถือว่าอันตรายและพบบ่อยในช่วงนี้ ก็คือ โรคติดต่อทางอาหารอย่าง โรคอุจจาระร่วง นั่นเอง ไปดูซิว่า เราสามารถรับมือกับโรคดังกล่าวได้อย่างไร บ้าง

โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)

เกิดจากเชื้อโรคต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และหนอนพยาธิ สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่สกปรก และมีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป อาการป่วยที่เรียกว่า โรคอุจจาระร่วง นั้น หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่า 3 ครั้ง ต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือเป็นมูกปนเลือด แม้เพียง 1 ครั้ง ต่อวัน หากไม่ได้รับการรักษา ที่ถูกต้องรวดเร็ว ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะช๊อค หมดสติ เนื่องจากเสียน้ำ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นรวดเร็ว สำหรับในราย ที่มีอาการรุนแรงมากอาจถึงแก่ความตาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

อาการสำคัญของโรค

ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด อาจมีอาเจียนร่วมด้วย อาการอาจมีเพียงเล็กน้อย จนกระทั่งอาการรุนแรง โดยถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าว คราวละมาก ๆ ที่เรียกว่า อุจจาระร่วงอย่างแรง

ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงอย่างแรง

- ขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว

- กระหายน้ำ กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย

- ตาลึกโหล

- ผิวหนัง เหี่ยวย่น

- ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ

- หายใจลึกผิดปกติ ชีพจรเต้นเบา เร็ว

การรักษา

1. ในระยะเริ่มแรกที่มีอาการท้องเดิน หรืออาเจียนเล็กน้อย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารเหลวจำพวก น้ำชา น้ำข้าว น้ำแกงจืด น้ำผลไม้ หรือข้าวต้มให้มาก ๆ จากนั้นให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ( โอ อาร์ เอส ) ในสัดส่วนที่ถูกต้อง โดยวิธีการผสมนั้น สามารถอ่าน ได้จากสลากข้างซอง หรือเตรียมสารละลายเกลือแร่เอง โดยการผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุก ที่เย็นแล้ว 1 ขวดกลมหรือ 750 ซี.ซี. ให้ผู้ป่วยดื่มบ่อย ๆ เพื่อเป็นการทดแทนน้ำ และเกลือแร่ ที่สูญเสียไป ส่วนสารละลายเกลือแร่ที่ผสมแล้ว ควรดื่มให้หมดภายใน 1 วัน ถ้าเหลือให้เททิ้งไม่ควรเก็บไว้ ดื่มต่อ แต่ให้ผสมใหม่วันต่อวัน