มหัศจรรย์ งานช้างสุรินทร์ 2550 (Amazing Surin Elephant Round-Up 2007)
Article Index
มหัศจรรย์ งานช้างสุรินทร์ 2550 (Amazing Surin Elephant Round-Up 2007)
หน้า #
หน้า #
All Pages
หากจะเอ่ยถึง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย หลายคนคงนึกถึง สัตว์สี่เท้า ตัวโต งวงยาว และมีงาสีขาวอันแหลมคม ที่เรียกว่า "ช้าง" เป็นสิ่งแรก เพราะมันคือเพื่อน ที่มีบทบาท และความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับคนไทย มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
หากจะเอ่ยถึง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย หลายคนคงนึกถึง สัตว์สี่เท้า ตัวโต งวงยาว และมีงาสีขาวอันแหลมคม ที่เรียกว่า "ช้าง" เป็นสิ่งแรก เพราะมันคือเพื่อน ที่มีบทบาท และความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับคนไทย มาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
ทว่า ในทุกวันนี้ปริมาณช้างไทย กลับลดจำนวนลง เหลือเพียงไม่กี่พันตัวเท่านั้น คาดว่า อีกไม่กี่สิบปี หากเราไม่หยุดทำร้ายช้าง และที่อยู่ของมัน สัตว์ที่เคยร่วมกอบกู้ เอกราชให้ชาติไทย อาจจะต้องกลาย เป็นเพียงสัตว์ในตำนานก็เป็นได้
ฉะนั้นวันนี้ เราจึงจะพาทุกท่าน ไปย้ำถึงความสำคัญของยักษ์ใหญ่ใจดี ที่มีต่อวิถีชีวิตคนไทย ณ จังหวัดสุรินทร์ ถิ่นช้างไทย เพื่อที่ว่า มันอาจจะช่วยเสริมสร้าง จิตสำนึกให้เรา ได้เห็นถึง คุณค่าของช้างมากยิ่งขึ้น
สุรินทร์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในฐานะที่เป็น “เมืองช้าง” ชาวสุรินทร์ดั้งเดิมที่เลี้ยงช้างเรียกตนเองว่า “กูย” นั้น เป็นผู้ที่ มีความชำนาญ ในการคล้องช้างป่าและฝึกช้างเป็นอย่างยิ่ง สำหรับทางจังหวัด ได้จัดให้มีงาน “การแสดงช้าง” ติดต่อกันมาเป็นเวลา กว่า 30 ปี โดยกำหนดจัดงานในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในปีนี้จะตรงกับวันที่ 17-18 พฤศจิกายน ที่สนามแสดงช้างในตัวเมืองสุรินทร์
การแสดงของแต่ละวันจะเริ่มเวลา 08.30 น. และสิ้นสุดลงในเวลา 11.30 น. สำหรับในปีนี้จะมีการปรับปรุงในสิ่งใหม่ๆ ประกอบด้วยการแสดงที่มีชื่อเสียงรวม 8ฉาก ซึ่งจะมีช้างเข้าร่วมแสดงไม่น้อยกว่า 200 เชือก เพื่อแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง ช้างกับคน และขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวสุรินทร์


กำหนดการงานแสดงช้างสุรินทร์ ประจำปี ๒๕๕๐
วันที่ ๑๗ – ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ณ สนามแสดงช้างสุรินทร์
เวลา ๐๗.๔๕ น. - ขบวนลูกช้างเกิดใหม่ ออกจากกำแพงเมืองไปสู่บริเวณพิธี
เวลา ๐๘.๐๐ น. - ประธานกล่าวเปิดงานแสดงช้าง และตีฆ้องชัย (หมอช้างเป่าเสนงเกล) - ประธานมอบรางวัลแก่ลูกช้างเกิดใหม่
เวลา ๐๘.๓๐ น. - เริ่มการแสดงช้าง

ฉากที่ ๑ นมัสการองค์สุรินทร์เทวา

- เริ่มการแสดง องค์พระสุรินทร์เทวา ประทับบนหลังคชาธารที่มีรูปร่างงดงามที่สุด เสด็จออกมาจากเมฆหมอก

ฉากที่ ๒ จุติสู่โลกาธานี

- ลูกช้างตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่งกับเด็กเลี้ยงช้างชาวกูย วิ่งเล่นออกมาด้วยกัน ทั้งคู่หยอกเย้ากันอย่างน่ารัก ตามด้วยลูกช้างและเด็กเลี้ยงช้างจากทุกมุมของสนาม ฯ

ฉากที่ ๓ บูชาฟ้าค้นหาพญาช้างไทย

- หญิงสาวชาวกูย ร่ายรำประหนึ่งกำลังบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ฉากที่ ๔ ปฐพีเลื่อนลั่น สนั่นพงไพร
- โขลงช้างป่าตัวใหญ่ เดินทางผ่านหมอกควันออกมา จากโขลงเดียวเป็นหลาย ๆ โขลง แปรขบวนเสมือนเกลียวคลื่นในทะเลช้าง รวมจำนวนช้างกว่า ๒๐๐ เชือก

ฉากที่ ๕ พาราแซ่ซ้องรับขวัญคชา

- ชาย หญิง ชาวกูย ในเครื่องแต่งกายสวยงาม ร่ายรำออกมาอย่างอ่อนช้อย

ฉากที่ ๖ คชศาสตร์ศึกษา เรืองฤทธิไกร

- การแสดงการฝึกช้าง การแสดงความสามารถของช้าง เช่น การวาดรูป การเดินสองขา การปาเป้า การเตะฟุตบอล ฯลฯ

ฉากที่ ๗ รุกรบไพรี ยุทธหัตถีมีชัย

- การแสดงยุทธหัตถี ของฝ่ายอโยธยา กับขบวนทัพหงสาวดี การจัดทัพที่ยิ่งใหญ่และมีความสมบูรณ์ที่สุด ทั้งช้าง ม้า ปืนใหญ่ ฯลฯ

ฉากที่ ๘ ยิ่งใหญ่เกรียงไกร ช้างไทยก้องปฐพี

- ฉากจบ โขลงช้างและนางรำทุกฉาก ทยอยเดินออกมายืนล้อมกองทัพยุทธหัตถี

เวลา ๑๑.๐๐ น. - นักท่องเที่ยวนั่งช้างรอบสนามแสดงช้าง

บัตรผ่านประตูราคา ๘๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๓๐๐ บาท และ ๔๐ บาท ติดต่อจองบัตรล่วงหน้า (เฉพาะบัตรราคา ๘๐๐ บาท และ ๕๐๐ บาท) ได้ที่สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ โทรศัพท์และโทรสาร ๐ - ๔๔๕๑ - ๒๐๓๙ , ๐ – ๔๔๗๑ - ๓๙๓๗

นอกจากจะได้ชมการแสดงต่างๆ ของเหล่าช้างแสนรู้นับร้อยๆ เชือกแล้ว นักท่องเที่ยวยังจะได้เพลิดเพลิน กับการเลือกซื้อและ เลือกชม ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อ อย่างผ้าไหม เครื่องเงิน อาหาร และอื่น ๆ อีกมากมาย ในงานกาชาดสุรินทร์ ซึ่งจัดขึ้นใน ช่วงเวลาเดียวกันด้วย


การเดินทาง :
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)ที่จังหวัดสระบุรี เข้าเส้นทางโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24 ) ผ่านอำเภอนางรอง อำเภอปราสาท จากอำเภอปราสาทเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ตรงเข้าสู่ ตัวเมืองจังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทาง 450 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)ที่จังหวัดสระบุรี เข้าเส้นทางโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24 ) ผ่านอำเภอนางรอง อำเภอปราสาท จากอำเภอปราสาทเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ตรงเข้าสู่ ตัวเมืองจังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทาง 450 กิโลเมตร

รถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีรถออกทุกวัน ระยะทาง 420 กิโลเมตร

เครื่องบิน
การบินไทยมีเที่ยวบินกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ ทุกวัน เว้นวันอังคารและวันพฤหัสบดี

นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารจากตัวเมืองสุรินทร์ไปยังอำเภอต่างๆ ทุกอำเภอ และจังหวัดใกล้เคียง การเดินทางในตัวเมืองสุรินทร์ก็มีรถสามล้อรับจ้างอยู่ทั่วไป

***ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ โทร. (044) 512-039

แหล่งข้อมูล
www.learningthai.com
www.tat.or.th
www.flickr.com
http://scitour.most.go.th
www.gov.surinpoc.com