แผ่นดินทอง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตอนที่ 1
Article Index
แผ่นดินทอง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตอนที่ 1
หน้า #
หน้า #
หน้า #
All Pages
สู่สุวรรณภูมิ
ชื่อของ สนามบินสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อพระราชทาน โดยพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 และเสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต จาห์น ชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟีจาห์น สำนักงานใหญ่ที่ชิคาโก ผู้ซึ่งออกแบบสนามบินชิคาโก และตึกโซนี่เซ็นเตอร์ ที่ประเทศเยอรมัน ซึ่งแบบอาคารสนามบิน ได้ถูกปรับเปลี่ยน ขนาดอาคาร และวัสดุจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทย โดยสถาปนิกชาวไทย

กำหนดเปิดใช้งานวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 และมีกำหนดการ ใช้งานแทน ท่าอากาศยานกรุงเทพ ที่ดอนเมือง หลังดำเนินการระยะหนึ่ง โดยนโยบายรัฐบาลได้กำหนด ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลัก ของประเทศ และจะเป็นศูนย์กลางการบิน ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ ถนนบางนาตราด กิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานคร 25 กิโลเมตร

จากรถยนต์ ...สู่เครื่องบิน
การเข้าถึงสนามบินสุวรรณภูมิ สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง ของ ขสมก. 6 สาย ในอนาคตมีแผนก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า จากบริเวณสถานีมักกะสัน มายังสนามบินในชื่อ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ (Airport Rail Link) ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ท่าอากาศยานมีทางเข้าออกทั้งหมด 6 เส้นทาง คือ
1.ทิศเหนือ เป็นถนนยกระดับขนาด 8 ช่องจราจร จากถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ เข้าสู่อาคารผู้โดยสาร
2.ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นถนนขนาด 6 ช่อง เชื่อมกับทางยกระดับ จากถนนร่มเกล้าและถนนกิ่งแก้ว
3.ทิศใต้ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนบางนา-ตราด และทางด่วนบูรพาวิถี
4.ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนอ่อนนุช
5.ทิศตะวันตก เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร เชื่อกับถนนกิ่งแก้ว
6.(กำลังก่อสร้าง) รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายพญาไท – มักกะสัน – สุวรรณภูมิ วิ่งเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร มีสถานีรถไฟฟ้าใต้อาคารผู้โดยสาร