ประเพณีสงกรานต์
Article Index
ประเพณีสงกรานต์
หน้า #
หน้า #
หน้า #
หน้า #
All Pages

๑.คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้สมาชิกของครอบครัว ได้มีโอกาสมาอยู่รวมกัน เพื่อแสดงความ กตัญญูกตเวที เช่น ลูก-หลาน มารดน้ำ ขอพรจากบิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย และมอบของขวัญ ให้แก่ท่านเหล่านั้น รวมทั้งมีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศ ส่วนกุศลไปให้

๒. คุณค่าต่อชุมชน ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี ในชุมชน เช่น ร่วมกันทำบุญให้ทาน พบปะสังสรรค์สนุกสนาน รื่นเริงร่วมกัน

๓. คุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการ ช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ที่สาธารณะ ตลอดจน อาคารสถานที่ของหน่วยงานต่าง ๆ

๔. คุณค่าต่อศาสนา ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนา คือ การทำบุญ ตักบาตร หรือเลี้ยงพระ การปฏิบัติธรรมฟังเทศน์ การสรงน้ำพระ

ความงดงาม ของประเพณีสงกรานต์ ที่เป็นคุณค่า ทางวัฒนธรรม ดังกล่าว เปรียบเสมือนสายใย ความผูกพันแห่งอดีต กับปัจจุบัน ซึ่งแสดงถึง ความเป็นไทยอย่างแท้จริง ทว่ากำลังจะถูกลบเลือนไป กิจกรรมหลายอย่าง ได้ถูกยกเลิก ความเอื้ออาทร ความห่วงใย และความปรารถนาดี ที่จะให้ผู้อื่น มีความสุข โดยการประพรมน้ำ ถูกแทนที่ด้วยการขว้างปา กิริยาก้าวร้าวรุนแรง ไม่สนใจ ในความเจ็บปวด และอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น พิธีกรรมอันเคยสง่างาม ถูกบีบรัดด้วยความรีบร้อน ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

คงจะเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะเรียกร้องให้ ทุกสิ่งทุกอย่างในอดีต กลับคืนมาสู่ยุคปัจจุบัน หากเพียงแต่ เราจะเริ่มต้นด้วยการแบ่งปัน ความเอื้ออาทร ให้กันและกัน พิเคราะห์ดูความงามของ ประเพณีสงกรานต์ ที่แท้จริง และเลือกสรรนำมาปฏิบัติ ให้เหมาะกับยุคสมัย เท่ากับว่าเราเป็นผู้หนึ่ง ที่จรรโลงประเพณีสงกรานต์ ด้วยความหมายที่แท้จริง ให้อยู่คู่กับสังคมไทย สืบต่อไป

U&K

แหล่งข้อมูล :
www.thaiculturalcenter.com
http://archaeology.thai-archaeology.info
www.songkran.net
www.thailife.de