หน้าร้อน ระวังท้องร่วง
Article Index
หน้าร้อน ระวังท้องร่วง
หน้า #
All Pages
ช่วงซัมเมอร์ที่อากาศร้อน ๆ แบบนี้ หลายครอบครัวอาจจะกำลังวางแผนไปเที่ยวชายทะเล กันอยู่ใช่ไหมคะ แต่เชื่อว่า สำหรับเจ้าตัวเล็กนั้น ถ้าได้ไอศกรีมหวานๆ หรือ น้ำแข็งใสเย็นๆสักถ้วย ก็คงจะพอแล้วละค่ะ

ช่วงซัมเมอร์ที่อากาศร้อน ๆ แบบนี้หลายครอบครัว อาจจะกำลังวางแผนไปเที่ยวชายทะเลกันอยู่ใช่ไหมคะ แต่เชื่อว่า สำหรับเจ้าตัวเล็กนั้น ถ้าได้ไอศกรีมหวานๆ หรือ น้ำแข็งใสเย็น ๆ สักถ้วย ก็คงจะพอแล้วละค่ะ

แต่...ทราบหรือไม่ว่า บางสิ่งที่มากับหน้าร้อนนั้น อาจจะทำให้สวรรค์ของคุณและเด็ก ๆ ล่มไม่เป็น ท่าก็ได้ ใช่แล้วละค่ะ บางสิ่งที่เรากำลังพูดถึงก็คือ เจ้าวายร้ายเชื้อโรคต่าง ๆ นั่นเอง ยิ่งอากาศร้อน ๆ แบบนี้ เพาะเชื้อและเติบโตได้ดีนักเชียว ซึ่งโรคอย่างหนึ่งที่ถือว่าอันตรายและพบบ่อยในช่วงนี้ ก็คือ โรคติดต่อทางอาหารอย่าง โรคอุจจาระร่วง นั่นเอง ไปดูซิว่า เราสามารถรับมือกับโรคดังกล่าวได้อย่างไร บ้าง

โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)

เกิดจากเชื้อโรคต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และหนอนพยาธิ สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่สกปรก และมีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป อาการป่วยที่เรียกว่า โรคอุจจาระร่วง นั้น หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่า 3 ครั้ง ต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือเป็นมูกปนเลือด แม้เพียง 1 ครั้ง ต่อวัน หากไม่ได้รับการรักษา ที่ถูกต้องรวดเร็ว ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะช๊อค หมดสติ เนื่องจากเสียน้ำ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นรวดเร็ว สำหรับในราย ที่มีอาการรุนแรงมากอาจถึงแก่ความตาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

อาการสำคัญของโรค

ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด อาจมีอาเจียนร่วมด้วย อาการอาจมีเพียงเล็กน้อย จนกระทั่งอาการรุนแรง โดยถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าว คราวละมาก ๆ ที่เรียกว่า อุจจาระร่วงอย่างแรง

ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงอย่างแรง

- ขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว

- กระหายน้ำ กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย

- ตาลึกโหล

- ผิวหนัง เหี่ยวย่น

- ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ

- หายใจลึกผิดปกติ ชีพจรเต้นเบา เร็ว

การรักษา

1. ในระยะเริ่มแรกที่มีอาการท้องเดิน หรืออาเจียนเล็กน้อย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารเหลวจำพวก น้ำชา น้ำข้าว น้ำแกงจืด น้ำผลไม้ หรือข้าวต้มให้มาก ๆ จากนั้นให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ( โอ อาร์ เอส ) ในสัดส่วนที่ถูกต้อง โดยวิธีการผสมนั้น สามารถอ่าน ได้จากสลากข้างซอง หรือเตรียมสารละลายเกลือแร่เอง โดยการผสมน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่นครึ่งช้อนชา ละลายกับน้ำต้มสุก ที่เย็นแล้ว 1 ขวดกลมหรือ 750 ซี.ซี. ให้ผู้ป่วยดื่มบ่อย ๆ เพื่อเป็นการทดแทนน้ำ และเกลือแร่ ที่สูญเสียไป ส่วนสารละลายเกลือแร่ที่ผสมแล้ว ควรดื่มให้หมดภายใน 1 วัน ถ้าเหลือให้เททิ้งไม่ควรเก็บไว้ ดื่มต่อ แต่ให้ผสมใหม่วันต่อวัน


2. สำหรับผู้ป่วยเด็ก หากเป็นเด็กที่ดื่มนมแม่ ให้ดื่มต่อไปตามปกติ พร้อมป้อนสารละลายน้ำตาลเกลือแร่บ่อย ๆ ส่วนเด็กที่ดื่มนมผงให้ผสมนมตามปกติ แต่ให้ดื่มเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่เคยดื่มกิน และให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่สลับกันไปมา (ไม่ควรผสมสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ลงในนมผสม )

3. ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม ภายใน 4 วัน หลังจากดื่มสารละลายเกลือแร่ เพื่อช่วยให้ลำไส้ได้อาหารและฟื้นตัวเร็วขึ้น

4. หยุดให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เช่น ถ่ายน้อยลงแล้ว เป็นต้น หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยการรับประทานครั้งละน้อย ๆ และเพิ่มจำนวนมื้อ

5. หากจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

การป้องกันตนเองจากโรค

1. ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร และภายหลังจากการใช้ส้วม

2. ดื่มน้ำที่สะอาดหรือน้ำต้มสุก

3. รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารประเภทสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หากจะเก็บอาหารที่ค้างมื้อ ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และก่อนรับประทานอาหาร ต้องอุ่นให้ร้อนทุกครั้ง

4. ผักสดหรือผลไม้ ก่อนรับประทานให้ล้างด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำผสมคลอรีนครึ่งช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร

5. กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์ ของแมลงวัน

6. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

7. ส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค

ข้อควรจำ

ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหยุดถ่าย เพื่อรักษาโรคอุจจาระร่วง เพราะการถ่ายอุจจาระ เป็นกลไลของร่างกาย ที่จะขับไล่ของเสีย สารพิษ และเชื้อโรคออกจากร่างกาย ไม่สามารถทำให้ร่างกายลดการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ภายในลำไส้ได้ อีกทั้งอาจส่งผลรบกวน ประสิทธิผลของยาปฏิชีวนะ ในรายที่มีการอักเสบของลำไส้ นอกจากนี้หากใช้ยาหยุดถ่าย ในเด็กเล็กจนเกินขนาด จะมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางและศูนย์การหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ควรใช้เฉพาะในรายที่เป็นบิด ถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปน หรือในรายที่มีอาการรุนแรง ที่มีอาการแทรกซ้อน ซึ่งก็ควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

เห็นหรือยังคะว่า อันตรายอยู่ใกล้ตัวเราขนาดไหน อย่างไรก็ตาม หากเรารู้จักวิธีป้องกันและ แก้ไขที่ถูกต้องแล้วละก็ ไม่ว่าหน้าร้อน หรือหน้าไหนๆ เราก็สนุกได้ไม่แพ้กันค่ะ


Endrophine

แหล่งข้อมูล :
province.moph.go.th
women.sanook.com
www.skho.moph.go.th